ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ หนึ่งในทีมฟุตบอลที่มีส่วนร่วม ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ วันนี้จะพามารู้จักอีกหนึ่งทีม ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดใน สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย 

ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ เป็นตัวแทนของประเทศเกาหลีใต้ ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของ สมาคมฟุตบอลเกาหลี เกาหลีใต้เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จ มากที่สุดในสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย โดยมีส่วนร่วมในการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย 11 ครั้ง มากที่สุดในเอเชีย

และเข้าร่วมติดต่อกัน 10 ครั้ง ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1986 ถึงครั้งล่าสุด แม้ในการแข่งขัน 5 ครั้งแรก จะไม่สามารถเอาชนะใครได้เลย แต่ในฟุตบอลโลก 2002 ที่เกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ได้สร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการเป็นชาติแรกในเอเชีย ที่เข้าถึงรอบรองชนะเลิศ

และยังคว้าอันดับ 4 ได้สำเร็จ เกาหลีใต้ ยังเป็นหนึ่งในสองทีม ที่เข้าชิงชนะเลิศรายการ เอเชียนคัพ มากที่สุด 6 สมัย โดยชนะเลิศ 2 สมัย (1956 และ 1960) รวมทั้งคว้าเหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 3 สมัย และเหรียญเงินอีก 3 สมัย เกาหลีใต้มีชื่อเล่นที่กลุ่มผู้สนับสนุน และสื่อตั้งให้ว่า “Reds” (เรดส์)

เนื่องจากสีชุดแข่งขันทีมเหย้า ซึ่งใช้สีแดงเป็นหลัก และกลุ่มผู้สนับสนุนของเกาหลีใต้ มีชื่อเรียกว่า “Red Devils” เกาหลีใต้ มีคู่แข่งคือชาติมหาอำนาจ ในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น, อิหร่าน และ ออสเตรเลีย รวมถึงการเป็นอริกับ จีน และ เกาหลีเหนือ ด้วยเหตุผลทางการเมือง โหลดเกมส์

ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้

มาดูถึงประวัติของ ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ไปดูพร้อมๆกันเลย

คาบสมุทรเกาหลีภายใต้ การปกครองของราชวงศ์โชซ็อน ไม่ได้รับการแนะนำให้รู้จักกีฬาฟุตบอล จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 มีหลักฐานว่ากีฬาฟุตบอล เริ่มเข้าสู่เกาหลีประมาณ ค.ศ. 1882 เมื่อทหารเรือจากกองทัพเรือ สหราชอาณาจักร มีการเล่นฟุตบอลบนเรือ HMS Flying Fish

ในขณะเทียบท่าที่ท่าเรือ อินช็อน ต่อมาเกาหลีกลายเป็นอาณานิคม ของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1905 ก่อนที่สนธิสัญญาญี่ปุ่น–เกาหลี ค.ศ. 1910 ทำให้เกาหลีหมดสิ้นอำนาจการปกครองตนเอง โดยสมบูรณ์ ใน ค.ศ. 1921 มีการจัดการแข่งขันรายการ All Joseon Football Tournament

ขึ้นซึ่งถือเป็นการแข่งขัน ทางการรายการแรกในเกาหลี ต่อมาใน ค.ศ. 1928 สมาคมฟุตบอลเกาหลี ในยุคแรกได้ก่อตั้งขึ้นในชื่อ สมาคมฟุตบอลโชซ็อน เพื่อสร้างรากฐาน และเผยแพร่กีฬาฟุตบอล ให้เป็นที่รู้จักในเกาหลี ทีมฟุตบอลของเกาหลี ได้ร่วมแข่งขันกับทีมญี่ปุ่นประมาณ ค.ศ. 1926

ต่อมา สโมสรฟุตบอลโชซ็อน ได้กลายเป็นตัวแทนของทีมชาติเกาหลี โดยพฤตินัย และชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอล ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดิ ใน ค.ศ. 1935 ซึ่งจัดโดยสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น ในช่วงเวลานั้น ผู้เล่นชาวเกาหลีหลายคน ต้องลงแข่งขันในนามทีมชาติญี่ปุ่น

ที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ คิม ยอง-ชิก ลงเล่นให้ญี่ปุ่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 สมาคมฟุตบอลเกาหลี ได้รับการจัดระบบใหม่ใน ค.ศ. 1945 เนื่องจากการยึดครองเกาหลี โดยจักรรรดิญี่ปุ่นสิ้นสุดลง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

การแบ่งแยกคาบสมุทรเกาหลี ส่งผลให้ประเทศเกาหลีใต้ และเกาหลีเหนือได้แยกประเทศกัน ในช่วงปลายทศวรรษ 1940 สมาคมฟุตบอลเกาหลี (KFA) ในรูปแบบใหม่ได้ก่อตั้งขึ้น และเข้าร่วมสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ ใน ค.ศ. 1948

และในปีเดียวกันนั้น ทีมชาติเกาหลีใต้ ได้ลงแข่งขันรายการแรกอย่างเป็นทางการ ด้วยการชนะทีมชาติเม็กซิโก ด้วยผลประตู 5–3 ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 ที่กรุงลอนดอน ก่อนจะเข้าไปแพ้ สวีเดน ในรอบก่อนรองชนะเลิศอย่างขาดลอย 0–12 ซึ่งเป็นสถิติการแพ้ด้วยผลประตู ที่มากที่สุดของพวกเขามาถึงปัจจุบัน 

ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้

บอลโลกครั้งแรกของฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ และแชมป์เอเชียนคัพ (1954)

ทีมชาติเกาหลีใต้ ร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก ในปี 1954 โดยเอาชนะญี่ปุ่นในรอบคัดเลือก ด้วยผลประตูรวมสองนัด 7–3 และเกาหลีใต้ ถือเป็นประเทศที่สองในทวีปเอเชีย ต่อจากทีมชาติอินโดนีเซีย ที่ได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซีย ยังลงเล่นในนามดัตช์อีสต์อินดีส์

เกาหลีใต้ จึงถือเป็นประเทศเอกราชชาติแรก ของเอเชียที่ได้แข่งขันฟุตบอลโลก ในการแข่งขันรอบสุดท้าย เกาหลีใต้ตกรอบแบ่งกลุ่มโดยแพ้ขาดลอย ทั้งสองนัดต่อทีมชาติฮังการี และตุรกี 0–9 และ 0–7 ตามลำดับ และไม่ได้ลงแข่งขันนัดสุดท้าย ที่พบกับเยอรมนีตะวันตก

เนื่องจากทั้งสองทีม ไม่ได้เป็นทีมวางตามกฎของฟีฟ่าในขณะนั้น และเกาหลีใต้ก็ห่างหายจากการเข้าร่วม ฟุตบอลโลกครั้งสุดท้ายยาวนานถึง 32 ปีหลังจากนั้น แม้จะล้มเหลวในฟุตบอลโลก แต่เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จ รายการใหญ่ครั้งแรก โดยชนะเลิศฟุตบอลเอเชียนคัพ

ซึ่งจัดแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1956 ที่ฮ่องกง และยังป้องกันแชมป์ได้ในฐานะเจ้าภาพ ในอีกสี่ปีต่อมา (1960) โดยเอาชนะ เวียดนามใต้, อิสราเอล และจีน อย่างไรก็ตาม ได้เกิดกรณีปัญหาขึ้นในรายการนั้น เมื่อผู้เล่นเกาหลีได้รับเหรียญรางวัลปลอม

โดยสมาคมฟุตบอลเกาหลี ได้ให้คำมั่นว่าจะส่งมอบเหรียญทองของจริง ให้แก่นักเตะ ทว่าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นเลยจนกระทั่งปี 2019 และเกาหลีใต้ยังไม่สามารถคว้าแชมป์เอเชียนคัพ ได้อีกเลยจนถึงทุกวันนี้ จนหลายคนสันนิษฐานว่าเป็นเพราะ “คำสาปของเหรียญปลอม”

ผลงานในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2002

ในการแข่งขันรอบสุดท้าย เกาหลีใต้ พบกับชัยชนะนัดแรกในฟุตบอลโลก เอาชนะโปแลนด์ 2–0 ตามด้วยการเสมอสหรัฐ 1–1 โดยอัน จ็อง-ฮวัน เป็นผู้ทำประตูตีเสมอท้ายเกม ปิดท้ายรอบแบ่งกลุ่มด้วยกา รชนะโปรตุเกส 1–0 จากประตูของ พัก จี-ซ็อง

ซึ่งผู้เล่นโปรตุเกสได้รับใบแดง ถึงสองคนในเกมนี้ เกาหลีใต้ ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกในฟุตบอลโลกรอบ สุดท้ายเป็นครั้งแรก เอาชนะอิตาลี 2–1 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย เกาหลีใต้ ได้จุดโทษในช่วงต้นเกม แต่อัน จ็อง-ฮวัน ยิงไปติดเซฟของ จันลุยจี บุฟฟอน

และกริสเตียน วีเอรี ทำประตูให้อิตาลีขึ้นนำ ก่อนที่ ซ็อลคี-ฮยอน จะตีเสมอให้เกาหลีใต้ในนาทีที่ 88 และต้องต่อเวลาพิเศษ และมีกรณีปัญหาเมื่อ ฟรันเชสโก ตอตตี ผู้เล่นอิตาลี ได้รับใบแดงอย่างค้านสายตา ก่อนที่อัน จ็อง-ฮวัน จะทำประตูชัยให้เกาหลีใต้ ชนะไปด้วยกฎประตูทอง (Golden goal)

ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ พบกับสเปน ซึ่งผู้ตัดสินยังคงได้รับการวิจารณ์ อย่างต่อเนื่อง เมื่อสเปนสามารถทำประตูได้ถึงสองครั้ง แต่ผู้ตัดสินไม่ให้ประตู การแข่งขันจบลงด้วยผลเสมอ ก่อนที่เกาหลีใต้จะชนะการยิงจุดโทษ ด้วยผลประตู 5–3

สร้างประวัติศาสตร์เป็นชาติแรก ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ที่เข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ก่อนจะยุติเส้นทางโดยแพ้ เยอรมนี 0–1 และแพ้ตุรกี 2–3 คว้าอันดับสี่ไปครอง ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น

ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ใน ฟุตบอลโลก 2006 และ เอเชียนคัพ 2007

เกาหลีใต้ ตกรอบแบ่งกลุ่มในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนี โดยอยู่ในกลุ่มจีร่วมกับฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์ และโตโก ด้วยผลงาน ชนะ, เสมอ และแพ้ อย่างละ 1 นัด มี 4 คะแนนจบในอันดับสามของกลุ่ม แม้พวกเขาจะทำผลงานยอดเยี่ยม ในสองนัดแรกด้วยการชนะโตโก 2–0

ตามด้วยการเสมอทีมใหญ่อย่าง ฝรั่งเศส ได้ 1–1 แต่พวกเขาแพ้ สวิตเซอร์แลนด์ ในนัดชี้ชะตา 0–2 ถัดมาในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 เกาหลีใต้ อยู่ในกลุ่มดีร่วมกับซาอุดีอาระเบีย, อินโดนีเซีย (เจ้าภาพร่วม) และบาห์เรน ทำผลงาน ชนะ, เสมอ และแพ้ อย่างละ 1 นัด

ตามด้วยการชนะจุดโทษอิหร่าน ในรอบก่อนรองชนะเลิศ หลังจากเสมอกันด้วยผลประตู 0–0 ก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปแพ้จุดโทษ ทีมแชมป์ในครั้งนั้นอย่างอิรักด้วยผลประตู 3–4 ภายหลังเสมอกัน 0–0 แต่ยังคว้าอันดับสามได้ จากการดวลจุดโทษชนะ ญี่ปุ่น ด้วยผลประตู 6–5 ภายหลังเสมอกัน 0–0

ตาราง-12-05-64-v