เมืองทองยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลอาชีพของไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เมืองทองยูไนเต็ด วันนี้จะพามาทำความรู้จัก สโมสรฟุตบอลดังในไทยลีก

เมืองทองยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 ในชื่อ ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์ ปัจจุบันลงแข่งขันในไทยลีก 

และไม่เคยตกชั้นนับตั้งแต่เลื่อนชั้น สู่ลีกสูงสุดในปี พ.ศ. 2551 เป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้เล่นมีชื่อ ติดฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นจำนวนมาก เมืองทองเป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จ มากที่สุดของประเทศ

พวกเขาเคยชนะเลิศลีก สามระดับในช่วงเวลาสามปีติดต่อกัน ได้แก่ ดิวิชั่น 2 ในปี 2550, ดิวิชั่น 1 ในปี 2551 และไทยพรีเมียร์ลีก ในปี 2552 สโมสรชนะเลิศไทยลีกทั้งหมด 4 สมัย และชนะเลิศไทยลีกคัพ 2 สมัย

ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จ มากที่สุดคือช่วงปี 2555 ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์ลีกแบบไร้พ่าย และปี 2559 ซึ่งพวกเขามีผู้เล่นทีมชาติไทยเป็นแกนหลัก และชนะในลีกติดต่อกันถึง 14 นัดจนคว้าแชมป์ลีกสมัยที่ 4 ได้สำเร็จ ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2560 

สโมสรชนะเกมเหย้าทั้งสามนัดในรอบแบ่งกลุ่ม จนได้ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ของการแข่งขันระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์สโมสร เมืองทองมีสโมสรคู่ปรับที่สำคัญหลายสโมสร ได้แก่ ชลบุรี, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และการท่าเรือ ในปี 2555

ปูนซิเมนต์ไทยหรือเอสซีจี ได้ซื้อกิจการสโมสร ทำให้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น “เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด” และในปี 2559–2560 เอสซีจี เมืองทอง เป็นสโมสรฟุตบอลที่ได้รับความนิยม จากแฟนฟุตบอลชาวไทยมากที่สุดในประเทศ หนังออนไลน์ล่าสุด

เมืองทองยูไนเต็ด

มาทำความเข้าใจประวัติของ เมืองทองยูไนเต็ด ว่ามีความเป็นมาอย่างไร 

เมืองทองยูไนเต็ด

เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2532 ชื่อแรกที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย คือ “ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์” เริ่มแข่งขันจากถ้วยพระราชทานประเภท ง ซึ่งเป็นถ้วยที่เล็กสุด กระทั่งในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกดิวิชั่น 1 

ฤดูกาล 2545–2546 ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำหนองจอก” โดยได้ วีระ มุสิกพงศ์ อดีตนักการเมืองเข้ามาทำทีม แต่ทำทีมได้เพียงแค่ฤดูกาลเดียว เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ วีระก็เลิกลาไปโดยที่ทีมยังคงอยู่ในลีกดิวิชัน 1 ต่อไป

ฤดูกาลต่อมาของไทยลีกดิวิชัน 1 2546-2547 ทีมเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามกลุ่มที่เข้ารับทำทีมต่อคือ สโมสรฟุตบอลหลักทรัพย์โกล์เบล็ค หนองจอก โดยมี สมศักดิ์ เซ็นเชาวนิช เป็นผู้จัดการทีม แต่ปีนั้นทีมทำผลงานได้ย่ำแย่

จนสุดท้ายก็ต้องตกชั้น ไปเล่นในถ้วยพระราชทานประเภท ข ในฤดูกาล 2547-2548 โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ต่อมา สมาคมฟุตบอลฯ ต้องการยกระดับลีกการแข่งขันในประเทศไทย ให้เป็นสากลมากขึ้น

จึงก่อตั้ง ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ขึ้นมา โดยนำทีมจากถ้วยพระราชทาน ข และ ค มาผสมรวมกันเพื่อแข่งขันในลีกนี้ในฤดูกาล ซึ่ง ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันด้วย และปีนั้นกับลีกดิวิชัน 2 ของไทยครั้งแรก

ในชื่อทีม เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด โดยผู้สนับสนุนทีมคือ ระวิ โหลทอง ที่รับตำแหน่งประธานสโมส เริ่มต้นที่ปี พ.ศ. 2550 ปีนั้นทีมใช้ผู้ฝึกสอนอย่าง นพพร เอกศาสตรา คุมทีมโดยมี โรเบิร์ต โปรคูเรอร์ ชาวเบลเยี่ยมเป็นผู้จัดการทีม

ปีนั้นเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ดได้แชมป์ลีกดิวิชัน 2 ครั้งแรกพร้อมได้สิทธิ์ขึ้นไปเล่นลีกดิวิชัน 1 ในปี พ.ศ. 2551 ในปีต่อมา ผู้ฝึกสอนอย่าง สุรศักดิ์ ตังสุสุรัตน์ สามารถพาทีมคว้าแชมป์ ไทยลีกดิวิชั่น 1 2551 มาครอบครองได้สำเร็จ

พร้อมขึ้นชั้นมาเล่นไทยพรีเมียร์ลีก 2552 (ไทยลีก ครั้งที่ 13) ไทยพรีเมียร์ลีก อันเป็นครั้งแรกของทีม เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ที่ได้ขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดของประเทศ นับจากก่อตั้งสโมสรมา 20 ปี

และในปีนั้น เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นทีมแรก ที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกของประเทศไทย ไล่จากลีกดิวิชัน 2, ดิวิชัน 1 จนถึงลีกสูงสุดโดยใช้เวลาเพียง 3 ปี จากนั้นก็ได้แชมป์ ถ้วยพระราชทานประเภท ก (ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ในปัจจุบัน) ที่สามารถชนะ การท่าเรือไทย ได้ 2-0 ส่วนถ้วยอื่น ๆ อย่างเอเอฟซีคัพ และไทยคม เอฟเอคัพ ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ แทงบอล

ไทยพรีเมียร์ลีกของเมืองทองยูไนเต็ด 

ในฤดูกาล 2555 เอสซีจี ได้เซ็นสัญญาเพื่อมาเป็น ผู้สนับสนุนของทีม โดยมีมูลค่าสัญญามากถึง 600 ล้านบาท และได้ทำการเปลี่ยนชื่อสนาม จาก ยามาฮ่า สเตเดียม มาเป็น เอสซีจี สเตเดียม และชื่อทีมจาก เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด มาเป็น เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 

ส่วนโลโก้ของสโมสรก็มีการเปลี่ยนให้ ตัวกิเลนทั้ง 2 ตัวมีขาชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม ช่วงก่อนเปิดฤดูกาลก็ได้มีการซื้อ เอกภูมิ โพธารุ่งโรจน์, มงคล นามนวด, อัดนัน บาราคัท และมารีโอ ยูโรฟสกี มิดฟิลด์ทีมชาติมาซิโดเนียเข้ามาร่วมทีม

รวมถึงการเซ็นสัญญาผู้ฝึกสอนคนใหม่ คือ สลาวีชา วอคานอวิช ชาวเซอร์เบียโดยผลงานจบเลกแรก ด้วยการเป็นอันดับที่ 1 ของตารางไทยพรีเมียร์ลีก 2555 หลังจากนั้นก่อนเปิดเลกที่ 2 ก็ได้มีการซื้อนักเตะเพิ่มเติม

โดยมี เอดีบัลโด โรคัช เอร์โมชา ปีกทีมชาติโบลิเวีย และเปลโล เรนเกิล นักเตะบราซิล ต่อมาในช่วงเดือนกันยายน ทีมได้ตกรอบโตโยต้า ลีกคัพ ด้วยการแพ้ ทีโอที เอสซี และตกรอบไทยคม เอฟเอคัพ ด้วยการแพ้ อาร์มี ยูไนเต็ด 

แต่ทีมยังรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ตั้งแต่เลกแรก และจนถึงช่วงปลายเลกที่ 2 ทีมก็ยังรักษาฟอร์มที่ดีไว้ได้ จนเหลือ 3 นัดสุดท้าย เมื่อแต้มได้ทิ้งห่าง ชลบุรี เอฟซี ทีมอันดับที่ 2 มากพอที่จะได้เป็นแชมป์อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ยังไม่จบฤดูกาล

โดยมีการฉลองแชมป์ที่ เอสซีจี สเตเดียม ในนัดที่พบกับ ชัยนาท ฮอร์นบิล โดยหลังจบเกม ทางสโมสรให้แฟนบอลได้ฉลองกันอย่างเต็มที่ และให้ลงมาสัมผัสสนามหญ้าของเอสซีจี สเตเดียม รวมไปถึงให้พบกับนักฟุตบอล ของทีมอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง

และในปีนี้เองที่ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ทำสถิติไร้พ่ายเป็นครั้งแรก ของสโมสรในประเทศไทย พร้อมกับได้สิทธิ์ไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ในรอบแบ่งกลุ่มในฤดูกาลหน้า

2 สโมสรฟุตบอลคู่แข่ง ของเมืองทองยูไนเต็ด

ชลบุรี หลังจากที่เมืองทอง ยูไนเต็ด สามารถขึ้นชั้นและได้แชมป์ ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ก็ได้แข่งขันแย่งตำแหน่งแชมป์กับ ชลบุรี มาโดยตลอด ทำให้เมื่อพบกันจึงได้รับขนานนามว่า “เอลกลาซีโกเมืองไทย” 

ในปี พ.ศ. 2554 มีการแข่งขันนัดสำคัญคือการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก โดยชลบุรีชนะ 2–1 และต่อมาเมื่อทั้งสองทีมลงแข่งขันกัน ก็จะมีแฟนบอลให้ความสนใจติดตามเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน เริ่มมีความสนใจลดน้อยลง เพราะ ช่วงนั้น บุรีรัมย์มาแรงมาก ทีมชลบุรีก็เริ่มดร็อปลงตามลำดับ 

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ภายหลังการเข้าซื้อทีมการไฟฟ้าของ เนวิน ชิดชอบ สำหรับการแข่งขัน ไทยพรีเมียร์ลีก ในชื่อ “บุรีรัมย์ พีอีเอ” ด้วยทุนมหาศาล ทำให้บุรีรัมย์ขึ้นมาเป็นทีมแถวหน้ าในการแข่งขันไทยลีก และเป็นคู่แข่งกับเมืองทอง ยูไนเต็ด จนถึงปัจจุบัน

โดยมีการแข่งขันสำคัญมากมาย เช่น ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ในปี พ.ศ. 2556, 2557 และ 2559 ซึ่งตั้งแต่การเข้าซื้อทีมและเปลี่ยนเป็นชื่อบุรีรัมย์นั้น เมืองทองยังไม่สามารถชนะบุรีรัมย์ได้ จนถึงในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 เมืองทอง ยูไนเต็ด สามารถบุกไปเอาชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ 3-0 ซึ่งได้ 2 ประตูจาก เคลย์ตง ซิลวา และ อดิศักดิ์ ไกรษร อีก 1 ประตู

เมืองทองยูไนเต็ดกับสนามเอสซีจี สเตเดียม 

สโมสรฟุตบอลเมืองทองยูไนเต็ด ใช้สนามเอสซีจีสเตเดียม เป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้อยู่หลังอาคารชาเลนเจอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องวีไอพีบ็อก ให้บริการ และพื้นที่สำหรับผู้สื่อข่าว รวมถึงห้องแถลงข่าว

สำหรับสนามเอสซีจี สเตเดียม นั้นปัจจุบันมีความจุ 15,000 ที่นั่ง ได้มาตรฐาน สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ย้อนกลับไปปี พ.ศ 2550 สภาพสนามเอสซีจีสเตเดียม ซึ่งยังเรียกว่า ธันเดอร์โดมสเตเดียม แสดงพัฒนาการให้เห็นขึ้นตามลำดับ ไล่มาตั้งแต่การคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 ในปี 2550

ก่อนจะก้าวไปอีกขั้นกับ แชมปืดิวิชัน 1 ในปี 2551 ต่อด้วย แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ในปี 2552 จนแฟนคลับมีจำนวนเพื่มขึ้นตามลำดับ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น ยามาฮ่า สเตเดี้ยม พร้อมลงมือก่อสร้างอัฒจรรย์ทั้ง 3ด้าน

รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก และในปี 2553 ได้ทำการปรับปรุงพื้นสนาม โดยใช้หญ้าพันธุ์ดีอย่าง “พาสพาลัม” ขณะที่ส่วนอัฒจรรย์ ที่นั่งของสนามยามาฮ่าสเตเดียม ยังติดตั้งเก้าอี้ จำนวน 9,000 ที่นั้ง ในอัฒจรรย์ฝั่งทิศตะวันออกและตะวันตก

ปี 2555 ได้เปลี่ยนชื่อตามสปอนเซอร์ใหม่เป็น “เอสซีจี สเตเดียม”อนาคตทางเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ดมีแผน 2 แผนคือ ต่อเติมให้มีความจุ 40,000 คน หรือสร้างสนามใหม่เพื่อรองรับแฟนบอล 35,000 คน ซึ่งใช้งบราว 500-700 ล้านบาท บุรีรัมย์ยูไนเต็ด

ตาราง-12-05-64-v