บอลโลก 2018 เป็นการจัดครั้งแรกของรัสเซียและยุโรปตะวันออก 2018 FIFA World Cup

บอลโลก 2018 ที่ไปที่มาของ 2018 FIFA World Cup

บอลโลก 2018 ถือเป็น Tournament ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกฟุตบอล ไม่ว่าจะเป็นชัยชนะ การพ่ายแพ้ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา หรือแม้กระทั่งความหลากหลายของชนชาติ สีสันของการเชียร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ พูดได้เลยว่าฟุตบอลโลก

พรีเมียร์ลีก คือ โดยกิจกรรมที่หล่อหลอมผู้คน ที่แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างที่มา แต่ฟุตบอลทำให้ทุกๆคน “พูดภาษาเดียวกัน” FIFA WORLD CUP 2018 ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 21 จัดการแข่งขันที่ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2018 เรียกว่าแทบจะตั้งตารอกันเลยทีเดียว

เริ่มความสนุกสนานประเดิมนัดแรก กลุ่ม A ระหว่าง “รัสเซีย” เจ้าภาพ เปิดสนาม ลุชนิคี สเตเดียม กรุงมอสโก ต้อนรับการมาเยือนของ ซาอุดิอาระเบีย เริ่มเวลา 22.00 น. ของวันที่ 14 มิถุนายน 2561 (เวลาประเทศไทย) แต่ก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น ฟุตบอลโลก 2018 ครั้งที่ 20 มาทบทวนกันว่า 32 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ามาเพื่อชิงความเป็นเจ้าลูกหนังในครั้งนี้มีทีมใดบ้าง

โซนยุโรป  : รัสเซีย (เจ้าภาพ) เยอรมนี (แชมป์เก่า) ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน เบลเยียม โครเอเชีย เดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส เซอร์เบีย สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์

โซนอเมริกาใต้ : อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย โคลอมเบีย เปรู

โซนอเมริกาเหนือ : เม็กซิโก คอสตาริกา ปานามา

โซนแอฟริกา : อียิปต์ ไนจีเรีย เซเนกัล โมร็อกโก ตูนิเซีย

โซนเอเชีย  : ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย

บอลโลก 2018

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ บอลโลก 2018 และ 2022

กระบวนการการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 เป็นกระบวนการซึ่งคัดเลือกสถานที่ จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ซึ่งเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 โดยมีสิบเอ็ดประเทศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ถึงประเทศหนึ่งที่ขอถอนตัว และอีกหนึ่งประเทศได้รับการปฏิเสธ

ก่อนคณะผู้บริหารของฟีฟ่า จะลงคะแนนเสียงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สองประเทศในจำนวนนี้เสนอตัว เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เท่านั้น ในขณะที่ประเทศที่เหลือเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานทั้งสองครั้งในช่วงแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 รัสเซียและกาตาร์ได้รับเลือก ให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ตามลำดับ

ตลอดการพิจารณา ประเทศนอกทวีปยุโรปทั้งหมด ได้ถอนตัวจากการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2018 ทำให้ประเทศผู้เสนอตัวทวีปยุโรปทั้งหมด ไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ณ เวลาของการตัดสินใจ การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018

ประกอบด้วยการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วม ของเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วม ของโปรตุเกสและสเปน และรัสเซีย ในขณะที่ประเทศผู้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 มาจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น กาตาร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของอินโดนีเซีย ได้รับการตัดสิทธิเนื่องจาก ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เม็กซิโก ถอนตัวจากการเสนอตัวเนื่องจาก ปัญหาทางการเงิน กระบวนการเสนอตัวยังเป็นประเด็นโต้เถียงกันรุนแรง เนื่องจากสมาชิกคณะผู้บริหารฟีฟ่าสองคน ได้ถูกระงับสิทธิ์ลงคะแนนเสียง

หลังจากมีข้อกล่าวหาว่า รับเงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียง การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของอังกฤษ และรัสเซียยังได้เป็นประเด็นโต้เถียงกัน หลังจากมีการแสดงความไม่พอใจ อย่างเป็นทางการในกฎของฟีฟ่า เกี่ยวกับการพูดคุยถึงผู้เสนอตัว เป็นเจ้าภาพที่เป็นคู่แข่งกัน

ถึงแม้ว่าข้อไม่พอใจดังกล่าวจะได้รับการ ถอนออกไปหลังจากรัสเซียออกมาแสดง ความขอโทษเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ฟีฟ่าได้ยกเลิก นโยบายการเวียนเจ้าภาพฟุตบอลโลกตามทวีป โดยเปลี่ยนนโยบายเป็นว่า สมาชิกจากสมาพันธ์ของฟีฟ่าเดียวกัน กับประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งที่ผ่านมา

ถือว่าขาดคุณสมบัติ ดังนั้นทวีปแอฟริกาจึงขาดคุณสมบัติ เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และทวีปอเมริกาใต้ขาดคุณสมบัติ ที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกทั้ง 2018 และ 2022 ปัจจัยอื่นในกระบวนการเลือกเจ้าภาพ รวมไปถึงจำนวนสนามกีฬาที่เหมาะสม และตำแหน่งที่ตั้งตลอดประเทศผู้เสนอตัว การลงคะแนนเสียงกระทำหลายรอบ โดยที่ประเทศที่ได้รับคะแนนเสียงน้อยที่สุด ในแต่ละรอบจะถูกคัดออกจนกระทั่งเหลือ ประเทศผู้เสนอตัวเพียงประเทศเดียว ที่มีคะแนนเสียงข้างมาก มังงะ

นโยบายการเวียนเจ้าภาพฟุตบอลโลก

หลังจากการเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2006 ฟีฟ่าได้ตัดสินใจออกนโยบาย สำหรับกำหนดเจ้าภาพจัดการแข่งขันในอนาคต สมาพันธ์ฟุตบอลโลกทั้งหก ซึ่งมักมีขอบเขตครอบคลุมแต่ละทวีป จะผลัดเวียนกัน เสนอให้ประเทศสมาชิกหนึ่งเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ระบบดังกล่าวถูกใช้เฉพาะในการเลือกเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก2010 (แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ) 

และฟุตบอลโลก 2014 (บราซิลเป็นเจ้าภาพ) ซึ่งเปิดโอกาสให้เฉพาะสมาชิก สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกาใต้ (CAF) และสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (CONMEBOL) ตามลำดับเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ระบบการเวียนเจ้าภาพได้นำมาสู่การทบทวน และได้มีการเสนอระบบใหม่

ซึ่งเสนอให้ประเทศจากสมาพันธ์ฟุตบอล ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งล่าสุด ข้อเสนอดังกล่าวได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ในซูริก สวิสเซอร์แลนด์ โดยคณะผู้บริหารฟีฟ่า ภายใต้นโยบายดังกล่าว ประเทศที่มีคุณสมบัติจะต้องมาจากทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป หรือโอเชียเนีย

โดยทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้ ขาดคุณสมบัติเช่นเดียวกัน ไม่มีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอล อเมริกาใต้สามารถเสนอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ได้ และประเทศจากสมาพันธ์ฟุตบอลเดียวกับประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 จะไม่ได้รับการพิจารณาในการ เลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เนื่องจากรัสเซียได้รับเลือกให้ เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ประเทศในทวีปยุโรปจึงขาดคุณสมบัติ ที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เช่นเดียวกัน

รูปแบบการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2018 ทีน่าสนใจ เข้าใจง่าย

รอบคัดเลือก ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ 1934 ก็เริ่มมีการจัดการแข่งขันคัดเลือก เพื่อจำกัดทีมในรอบสุดท้ายให้น้อยลง จัดในเขตการแข่งขันทั้ง 6 เขตของฟีฟ่า (แอฟริกา เอเชีย อเมริกาเหนือ และกลางและแคริบเบียน อเมริกาใต้ โอเชียเนีย และยุโรป)

ตรวจสอบโดยสมาพันธ์ที่เกี่ยวข้อง ในการแข่งขันในแต่ละครั้ง ฟีฟ่าจะกำหนดล่วงหน้าเรื่องจำนวน ว่าจะมีกี่ทีมในแต่ละเขตที่จะได้เข้าสู่รอบสุดท้าย โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของทีมของสมาพันธ์ กระบวนการคัดเลือก จะเริ่มในเกือบ 3 ปีก่อนที่จะแข่งรอบสุดท้ายและจะสิ้นสุดในช่วง 2 ปีก่อนการแข่งขัน

รูปของการแข่งขันรอบคัดเลือก จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสมาพันธ์ โดยปกติแล้ว ที่ 1 หรือ 2 อันดับแรกที่ชนะเพลย์ออฟระหว่างทวีป ตัวอย่างเช่น ผู้ชนะของเขตโอเชียเนีย และที่ 5 ของทีมในโซนเอเชีย จะแข่งรอบเพลย์ออฟในฟุตบอลโลก 2010 และจากฟุตบอลโลก 1938 เป็นต้นมา

ประเทศเจ้าภาพจะเข้าสู่รอบสุดท้ายโดยทันที และทีมแชมป์จะเข้ารอบสุดท้ายเพื่อป้องกันตำแหน่งในระหว่างปี 1938 และ 2002 แต่ในปี 2006 ได้งดไป ทีมบราซิลที่ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 เป็นทีมแรกที่แข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อป้องกันตำแหน่ง UFABET

รอบสุดท้าย การแข่งขันรอบสุดท้ายปัจจุบัน มีทีมเข้าแข่งขัน 32 ชาติ ที่จะแข่งขันนานร่วม 1 เดือน ในประเทศเจ้าภาพการแข่งขัน โดยแบ่งเป็น 2 รอบคือ รอบแรก (แบ่งกลุ่ม) และรอบแพ้คัดออก ในรอบแบ่งกลุ่ม จะแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 4 ทีม โดยมี 8 ทีม (รวมถึงประเทศเจ้าภาพด้วย)

ที่จะถูกเลือกออกมาจากอันดับโลกฟีฟ่า และหรือ ผลการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ผ่านมา ทั้ง 8 ทีมจะถูกแยกออกไปในแต่ละกลุ่มส่วนทีมที่เหลือจะใส่ลงโถ โดยมากเป็นแบ่งจากเขตทางภูมิศาสตร์ แต่ละทีมในโถจะจับสลากกลุ่มที่อยู่ และตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1998 มีข้อบังคับว่าในแต่ละกลุ่มจะไม่มีทีมจากยุโรป มากกว่า 2 ทีมและมากกว่า 1 ทีม

จากสมาพันธ์ฟุตบอลของแต่ละทวีปอื่น แต่ละทีมในกลุ่มจะแข่งแบบพบกันหมด กล่าวคือแต่ละทีมจะแข่ง 3 นัด กับทีมอื่นในกลุ่มจนครบ ส่วนนัดสุดท้ายของการแข่งขันแบ่งกลุ่มจะแข่งเวลาเดียวกัน เพื่อให้ความยุติธรรมกับทั้ง 4 ทีม ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 2 อันดับแรกในกลุ่มจะเข้าสู่รอบแพ้คัดออก โดยคะแนนมาจากการทำคะแนนในการแข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 กำหนดให้ทีมผู้ชนะได้ 3 คะแนน ทีมที่เสมอได้ 1 คะแนน และทีมที่แพ้ไม่ได้คะแนน (ก่อนหน้านี้ ทีมที่ชนะได้ 2 คะแนน)

บทสรุป บอลโลก 2018 ปีแห่งความเหนือคาด 

เวลา 1 เดือนแห่งความบันเทิงของคอลูกหนัง จบลงไปแล้วการแข่งขันฟุตบอลโลก 64 แมตช์ ณ ประเทศรัสเซีย ปิดฉากลงด้วยชัยชนะของ ทีมตราไก่ ฝรั่งเศส คว้าแชมป์สมัยที่2 ไปครอง อันดับ 2 คือ โครเอเชีย อันดับ3 เบลเยียม อันดับ 4 คือ อังกฤษ เป็นปีที่ทีมจากยุโรปครองทั้ง 4 อันดับแรก

นอกจากลุ้นว่าถ้วย World Cup เป็นของทีมไหนแล้ว ฟุตบอลโลกแต่ละครั้งก็ยังมีรางวัลอื่นๆ ที่สำคัญอีกและในปีนี้ แฮร์รี่ เคน ศูนย์หน้าตัวความหวังของอังกฤษ คว้ารางวัลโกลเด้นบูต หรือรองเท้าทองคำกลับบ้าน ด้วยจำนวนการทำประตู 6 ประตู

ขณะที่รางวัลโกลเด้นบอล หรือลูกบอลทองคำที่มอบให้นักเตะ ที่ทำผลงานดีที่สุดในทัวร์นาเมนต์ตกเป็นของ ลูก้า โมดริช กองกลางที่เป็นเหมือนศูนย์บัญชาการ ของทีมชาติโครเอเชีย คีเลียน เอ็มบัปเป้ ศูนย์หน้าวัย 19 ปีของฝรั่งเศสคว้า รางวัลนักเตะดาวรุ่งยอดเยี่ยม

สถิติภาพรวมของฟุตบอลโลก 2018 มีจำนวนประตูเกิดขึ้นทั้งหมด 169 ประตู ใบเหลือง 219 ใบแดง 4 การจ่ายบอลสำเร็จ 49,651 ครั้ง จำนวนสกอร์เฉลี่ยแมตช์ละ 2.6 ประตู และเป็นฟุตบอลโลกที่มีสกอร์เกิดขึ้นเกือบทุกแมตช์ ทีมที่ทำประตูมากที่สุดคือ เบลเยียม จำนวน 16 ประตู (ทำประตูตัวเอง 1)

ทีมที่จ่ายบอลสำเร็จมากที่สุดคืออังกฤษ จำนวน 3,336 ครั้ง ทีมที่มีเกมส์รุกดีที่สุดคือโครเอเชีย ทำเกมส์รุก 352 ครั้ง ส่วนทีมที่มีเกมส์รับดีที่สุด ก็คือโครเอเชียเช่นกัน โดยมีการเคลียร์บอล เข้าปะทะแย่งบอล และเซฟ 301 ครั้ง ซึ่งที่ตัวเลขสูงกว่าทีมอื่น อาจจะเป็นเพราะโครเอเชียเป็นทีมที่ลงสนาม เป็นเวลานานที่สุด ต้องต่อเวลา เล่น 120 นาทีถึง 3 นัด 

ตาราง-12-05-64-v